นวัตกรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการประเมิน ITA Online 2566

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราดโดย นางอมรรัตน์  เชิงหอม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ได้มอบนโยบายการดำเนินการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน และยกระดับคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกำหนดเป้าหมายระดับ AA คะแนน 95 ขึ้นไป ด้วยรูปแบบ “SUPPORT Model” (เกื้อหนุน จุนเจือ)

S : Scan วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ ค้นหาสาเหตุของผลคะแนนทุกตัวชี้วัด ค้นหาจุดบกพร่อง จุดที่ต้องพัฒนา เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงวิธีการ ขั้นตอน กระบวนการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป

U : Understand สร้างความเข้าใจ สร้างการรับรู้และเข้าใจ สร้างการรับรู้วัฒนธรรม มุ่งเน้นการสื่อสารสองทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเป้าหมายของการพัฒนาและการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

P : Participant จัดตั้งทีมแกนนำการขับเคลื่อน เพื่อทำงานอย่างมีส่วนร่วม ประชุมวางแผนการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมาย เน้นทำงานเป็นทีม โดยมุ่งเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก

P : Plan วางแผน กำหนดเป้าหมายจากปัญหาและโอกาส สร้างแผนการทำงานเพื่อทำให้เป้าหมายประสบความสำเร็จ ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน กำหนดผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด

O : Organizational policy ขับเคลื่อนตามนโยบาย ทิศทาง และเป้าหมายขององค์กร ซึ่งเน้นการบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล

R : Relationship สัมพันธภาพที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งทีมงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน

T : Technology ใช้เทคโนโลยีในทุกกระบวนงาน ได้แก่ การติดต่อ ประสานงาน เก็บข้อมูล ติดตาม ตรวจสอบ


ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

เชิงปริมาณ จำนวนผู้ตอบแบบวัดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) แต่ละกลุ่มเป้าหมาย ครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกำหนด ทั้งการตอบแบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) และการตอบแบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)

เชิงคุณภาพ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online)  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รายตัวชี้วัด ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นรายตัวชี้วัด ซึ่งได้จากการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจากเอกสารหลักฐานการเปิดเผยข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เรียงตามลำดับคะแนน ได้ดังนี้

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ

  1. ผู้บริหารให้ความสำคัญ กำหนดทิศทาง นโยบายการบริหารงานในเรื่องการสร้างองค์กรเป็นองค์กรคุณธรรมและความโปร่งใสที่ชัดเจน
  2. บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร จนเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ กิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัย กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมกีฬาและนันทนาการเพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร สร้างความรัก ความสามัคคี เป็นต้น
  3. บุคลากรในองค์กรมีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มงาน